วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

ประวัติผ้าพื้นบ้านภาคอีสาน ผ้ามัดหมี่





ประวัติผ้าพื้นบ้านภาคอีสาน ผ้ามัดหมี่

ประวัติผ้าพื้นบ้านภาคอีสาน
ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ ๑๘ จังหวัด ประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่า ๒๐ ชาติพันธ์ ส่วนมากเป็นกลุ่มชนชาวไทยเชื้อสายไท-ลาว หรือชนเผ่าไท-ลาว ที่คนไทยภาคอื่นมักเรียกว่า ลาว เป็นกลุ่มชาติพันธ์ใหญ่สุดของภาคอีสาน ภาคอีสานมีพื้นที่ประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ประเทศไทยทั้งหมด หรือประมาณ ๑๗๐๒๒๖ ตารางกิโลเมตร กลุ่มไท-ลาวเหล่านี้กรระจายอยู่ทั่วไปแทบทุกจังหวัด และสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่ม ๆ ได้ดังนี้ กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดเลย นครราชสีมา และชัยภูมิ มีความใกล้ชิดกับหลวงพระบาง กลุ่มชนในเขตจังหวัดหนองคาย อุดรธานี ขอนแก่น มีความใกล้ชิดกับเวียงจันทน์ กลุ่มชนในเขตจังหวัดนครพนม สกลนคร และกาฬสินธุ์ เป็นกลุ่มผู้ไทหรือภูไท กลุ่มชนที่อยู่ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มุกดาหาร และมหาสารคาม โน้มเอียงไปทางจำปาสัก กลุ่มชนในบริเวณภาคอีสานมิได้มีเฉพาะคนไท-ลาวเท่านั้น ยังมีกลุ่มชนเผ่าอื่นๆ อีกเช่น ข่า กระโส้ กะเลิง ส่วย และเขมร โดยเฉพาะเขมรและส่วยซึ่งกระจายกันอยู่ในบริเวณจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ และบุรีรัมย์  คำว่า "มัดหมี่" เป็นลักษณะของการประดิษฐ์ลวดลายให้เกิดบนผืนผ้าด้วยการใช้เชือก
มัดเส้นไหมหรือฝ้ายส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีเวลาย้อมเป็นเปราะหลังจากการย้อมแล้วเมื่อตัด
เส้นเชือกที่มัดออกจึงเกิดลวดลายตามต้องการ
          มัดหมี่ที่รู้จักและทำกันในประเทศต่างๆมี  3 ชนิด ได้แก่
          1. มัดหมี่เส้นพุ่ง
          2. มัดหมี่เส้นยืน
          3. มัดหมี่เส้นพุ่ง และเส้นยืน (สำหรับประเทศไทยทำกันเฉพาะเส้นพุ่งเท่านั้น และ
ทำกันมากในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคอีสาน)
มัดเส้นไหมหรือฝ้ายส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีเวลาย้อมเป็นเปราะหลังจากการย้อมแล้วเมื่อตัดเส้นเชือกที่มัดออกจึงเกิดลวดลายตามต้องการ           มัดหมี่ที่รู้จักและทำกันในประเทศต่างๆมี  3 ชนิด ได้แก่           1. มัดหมี่เส้นพุ่ง           2. มัดหมี่เส้นยืน           3. มัดหมี่เส้นพุ่ง และเส้นยืน (สำหรับประเทศไทยทำกันเฉพาะเส้นพุ่งเท่านั้น และทำกันมากในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคอีสาน)มัดเส้นไหมหรือฝ้ายส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีเวลาย้อมเป็นเปราะหลังจากการย้อมแล้วเมื่อตัดเส้นเชือกที่มัดออกจึงเกิดลวดลายตามต้องการ           มัดหมี่ที่รู้จักและทำกันในประเทศต่างๆมี  3 ชนิด ได้แก่           1. มัดหมี่เส้นพุ่ง           2. มัดหมี่เส้นยืน           3. มัดหมี่เส้นพุ่ง และเส้นยืน (สำหรับประเทศไทยทำกันเฉพาะเส้นพุ่งเท่านั้น และทำกันมากในจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคอีสาน)          ผ้าไหมมัดหมี่เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งนิยมทำกันมานานแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และบางที่ในเขตภาคกลาง เช่น จังหวัดสุพรรณบุรี อุทัยธานีกาญจนบุรี ลพบุรี และชัยนาท วิธีการทำผ้ามัดหมี่คือการมัดด้ายให้เป็นลวดลายที่เส้นพุ่งหรือเส้นยืนด้วยเชือกแล้วนำไปย้อมสี เพื่อให้สีและลายตามกำหนด แล้วจึงนำมาทอเป็นผ้า ผ้าไหมมัดหมี่ในบ้านเราส่วนใหญ่นิยมทอผ้ามัดหมี่เส้นพุ่ง แต่มีบางจัดหวัดที่มีการทำผ้าไหมมัดหมี่โดยใช้เส้นยืน ซึ่งได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ราชบุรี เพชรบุรี บางแห่งมีการทอผ้ามัดหมี่สลับการกับลายขิดเพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่ผ้าไหมมากยิ่งขึ้น           การทอผ้ามัดหมี่จะมีอยู่ทั่วไป 2ลักษณะคือ           1. การทอผ้ามัดหมี่ตะกรอเป็นลายขัดธรรมดาผ้าจะใช้ได้เพียงหน้าเดียว           2. การทอผ้ามัดหมี่ 3 ตะกรอ เป็นการทอผ้าลายสอง เนื้อผ้าจะแน่น สามารถใช้ผ้าได้ ทั้ง 2 ด้านโดยด้านหน้าจะให้สีสันสดใสและลวดลายชัดกว่าด้านใน           ในปัจจุบันมีการทอผ้ามัดหมี่กันหลายรูปแบบ มีการดัดแปลงลายพื้นบ้านผสมกับลายโบราณที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาเรื่อยๆ อีกทั้ง ปัจจุบันผ้าไหมมัดหมี่ได้มีการนำมาออกแบบเสื้อผ้าสตรี-บุรุษ ได้อย่างสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะโดดเด่นมาก          ผ้าไหมมัดหมี่ที่มีการผลิตกันมาก และเป็นที่ต้องการของตลาด เช่น ผ้าไหมมัดหมี่ลาย ต่าง ๆ ทั้ง 2 ตะกรอ และ 3 ตะกรอ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านางธรรมดา ผ้าไหมมัดหมี่หน้านางประยุกต์ ผ้าไหมมัดหมี่หน้านางพิเศษ ซึ่งแต่ละชนิดมีความยากง่ายในการมัด และทอต่างกัน ความสวยงามจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความประณีตของขบวนการมัดหมี่และการทอผ้า 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น